ข้อบังคับโรงเรียนนาน้อย ว่าด้วย กิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาลนักเรียนโรงเรียนนาน้อย พ.ศ. 2554
ข้อบังคับโรงเรียนนาน้อย
ว่าด้วย กิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาลนักเรียนโรงเรียนนาน้อย พ.ศ. 2554
--------------------
โรงเรียนนาน้อย เห็นว่าการเปิดโอกาสและสร้างเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามหลัก ธรรมาภิบาล ให้นักเรียนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียนตามความถนัด ความสามารถและฝึกการอยู่ร่วมกันตามแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ควรมีหลักนิติธรรมเป็นหลักในการปฏิบัติจึงตราข้อบังคับว่าด้วยกิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาลนักเรียนโรงเรียนนาน้อย ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ กิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาลนักเรียนโรงเรียนนาน้อย
พ.ศ. 2554”
ข้อ 2 ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
1. “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
2. “ กิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาล” หมายถึงองค์การนักเรียน สภาผู้แทน
นักเรียน คณะสี ยุวชนผู้ใหญ่บ้านกำนัน
3. “ องค์การนักเรียน” หมายถึง คณะกรรมการบริหารกิจกรรมนักเรียนที่มา
จากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนและมาจากการประกาศแต่งตั้ง
4. “สภาผู้แทนนักเรียน” หมายถึง สภาผู้แทนนักเรียนโรงเรียนนาน้อย อำเภอ
นาน้อย จังหวัดน่าน โดยสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งระบบจากห้องเรียน
และระบบชั้นเรียน
5. “ คณะกรรมการคณะสี ” หมายถึง คณะกรรมการคณะสีของโรงเรียน
กำหนด
6. “ ยุวผู้ใหญ่บ้านกำนัน” หมายถึง นักเรียนในแต่ละหมู่บ้าน ตำบล ที่สมาชิก
ในหมู่บ้านตำบลนั้นเลือกตั้ง
7. “ ผู้อำนวยการ” หมายถึงผู้อำนวยการโรงเรียนนาน้อย อำเภอนาน้อย
จังหวัดน่าน
8. “ ครู ” หมายถึงครูในโรงเรียนนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
9. “ คณะที่ปรึกษา” หมายถึง ครูที่โรงเรียนแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาองค์กร
นักเรียนทุกองค์กร
หมวด 1
วัตถุประสงค์
ข้อ 4 กิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาล จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ
4.1 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนตัวเองเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เพื่อเป็น
พลเมืองดีมีคุณธรรมในสังคมประชาธิปไตย
4.2 เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ด้านบริหารและด้านปกครองของนักเรียน
โดยนักเรียนและเพื่อนักเรียน
4.3 เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนักเรียน ในการกระทำอื่นใดทั้งภายในและ
ภายนอกโรงเรียน
หมวด 2
องค์ประกอบของกิจกรรมเยาวชนธรรมาภิบาล
ข้อ 5 เยาวชนธรรมาภิบาลได้แก่องค์กรต่างๆองค์ประกอบด้วย 4 องค์กร
5.1 คณะกรรมการองค์การนักเรียน
5.2 คณะกรรมการสภาผู้แทนนักเรียน
5.3 คณะกรรมการคณะสี
5.4 ยุวผู้ใหญ่บ้าน-กำนัน
ข้อ 6 คณะกรรมการบริหารทุกองค์กรของเยาวชนธรรมาภิบาล ประกอบด้วย
6.1 ประธาน
6.2 รองประธาน
6.3 เลขาธิการ
6.4 เหรัญญิก
6.5 ประชาสัมพันธ์
6.6 ฝ่ายวิชาการ
6.7 ฝ่ายกิจกรรม
6.8 ฝ่ายสารวัตรนักเรียน
6.9 ฝ่ายกีฬา/กรีฑา
6.10 ฝ่ายดนตรี/นันทนาการ
6.11 ฝ่ายรักษาความสะอาด
6.12 ฝ่ายพยาบาล
ข้อ 7 สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนหรือเรียกย่อว่า “ ส.น.” มีสมาชิก 2 ประเภท ได้แก่
7.1 การเลือกตั้งของห้องเรียนต่างๆห้องเรียนละ 1 คน
7.2 การเลือกตั้งแต่ละระดับชั้นๆละ 10 คน รวม 60 คน
เมื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนได้ครบแล้ว ภายใน 7 วันมีการประกาศเรื่องผลการเลือกตั้งและโรงเรียนให้สมาชิกประชุมเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนนักเรียน รองประธานสภาผู้แทนนักเรียน และกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ข้อ 8 คณะกรรมการองค์การนักเรียน มีหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกิจกรรมนักเรียนจัดกิจกรรมประจำปีโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมนักเรียน มีจำนวนไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย
8.1 นายกองค์การนักเรียน เป็น ประธาน
8.2 อุปนายกองค์การ เป็นรองประธาน
8.3 เลขานุการ เป็นกรรมการ
8.4 ประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการ
8.5 หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการ
8.6 หัวหน้าฝ่ายกีฬา เป็นกรรมการ
8.7 หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม เป็นกรรมการ
8.8 หัวหน้าฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ เป็นกรรมการ
8.9 หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ เป็นกรรมการ
8.10 อื่นๆที่เห็นสมควร เป็นกรรมการ
คณะกรรมการองค์กรนักเรียน อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้
หมวด 3
การเลือกตั้ง การแต่งตั้ง และสมาชิกภาพ
ข้อ 9 การเลือกตั้งองค์กรต่างๆของนักเรียน ให้เลือกตั้งต้นปีการศึกษายกเว้นสภาผู้แทนนักเรียนและองค์การนักเรียนดำเนินการในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายนและให้เป็นไปตามเกณฑ์ และวิธีการที่โรงเรียนกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเช่นว่านี้ให้คลุมถึง
9.1 เกณฑ์คำนวณสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนและคณะสี
9.2 วิธีหาเสียง วิธีลงคะแนน และวิธีนับคะแนน
9.3 การประกาศผลให้ออกประกาศของโรงเรียน
ข้อ 10 ผู้มีสิทธิได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานองค์กรต่างๆของนักเรียน ต้องมี
คุณสมบัติ ดังนี้
10.1 เป็นนักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนนาน้อย
10.2 เป็นผู้ไม่เคยประพฤติร้ายแรงตามกฎ-ระเบียบของโรงเรียน
10.3 มีผู้รับรองความสามารถในการปฏิบัติงานสังคมไม่น้อยกว่า 10 คน
โดยผู้รับรองต้องเป็นอาจารย์ 5 คน และนักเรียน 5 คน
10.4 เป็นผู้มีความตั้งใจและสนใจต่องานกิจกรรมนักเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจ
10.5 ต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษาที่
เลือกตั้ง และ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
ข้อ 11 การเลือกตั้งนายกองค์องค์การนักเรียน ให้สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนเสนอผู้สมควรเป็นนายกองค์กรนักเรียนและให้สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนลงคะแนนโดยขานชื่อเป็นรายบุคคล ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นนายกองค์การนักเรียน นายกองค์การนักเรียนเสนอรายชื่อนักเรียนที่สมควรเป็นกรรมการองค์การนักเรียน ข้อ 8 เสนอโรงเรียนเพื่อออกประกาศแต่งตั้ง
ข้อ 12 สภาผู้แทนนักเรียนให้มีวาระคราวละ 1 ปี โดยเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในเดือนพฤศจิกายน และให้ครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ในเดือนตุลาคม ของปีถัดไปคณะกรรมการผู้แทนนักเรียนซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้งอีกก็ได้
ข้อ 13 ให้องค์กรนักเรียนเป็นผู้เสนอชื่อครูเพื่อให้โรงเรียนแต่งตั้ง จำนวน 2 คน ต่อ 1 องค์กรพร้อมประกาศแต่งตั้งองค์กรนั้นๆ
ข้อ 14 นอกจากพ้นตำแหน่งตามวาระข้อ 12 คณะกรรมการองค์กรนักเรียนพ้นตำแหน่งเมื่อ
14.1 ตาย
14.2 ลาออก
14.3 สมาชิกนักเรียนในองค์กรมีมติให้ออก
เมื่อกรรมการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระโรงเรียนโดยการเสนอของฝ่ายกิจการนักเรียนอาจจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งผู้อื่นแทนก็ได้ ผู้ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
หมวด 4
การบริหารงานสภาผู้แทนนักเรียน
ข้อ 15 การบริหารงานของสภาผู้แทนนักเรียน ให้แบ่งความรับผิดชอบ ดังนี้
15.1 การวางระเบียบ หรือข้อบังคับและการบริหารกิจกรรมนักเรียน ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสภาผู้แทนนักเรียน
15.2 ครูที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการวางแผนหรือการเขียนโครงการและมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของสภานักเรียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามวัตถุประสงค์ในข้อ 4
15.3 การปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ให้องค์การนักเรียนเสนอต่อสภาผู้แทนนักเรียนเป็นผู้พิจารณา โดยได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนนาน้อย พิจารณาเห็นชอบเพื่อเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนนาน้อย พิจารณาอนุมัติ
หมวด 5
อำนาจ และหน้าที่ ของสภาผู้แทนนักเรียน และองค์การนักเรียน
ข้อ 16 การปฏิบัติงานตามหน้าที่ของสภาผู้แทนนักเรียนจะขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใดของทางราชการที่โรงเรียนถือปฏิบัติอยู่มิได้กับทั้งต้อง รักษาไว้ซึ่งศีลธรรม
วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่จำเป็นให้ขอความเห็นชอบจากโรงเรียนก่อน
ข้อ 17 สภาผู้แทนนักเรียนให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
17.1 จัดการประชุมสภาผู้แทนนักเรียน
17.2 พิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโครงการกิจกรรมนักเรียน
ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ที่องค์การนักเรียน เสนอ
17.3 เป็นตัวแทนนักเรียนเสนอโครงการแนวทางการพัฒนาโรงเรียน
17.4 ปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
17.5 เผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่นักเรียน และดำเนินการเลือกตั้ง
ประธานสภานักเรียน
17.6 แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่เห็นสมควร
ข้อ 18 องค์การนักเรียนมีอำนาจหน้าที่
18.1 เป็นตัวแทนนักเรียนติดต่อประสานงานองค์กรอื่น
18.2 ดำเนินกิจกรรมนักเรียนนอกหลักสูตร งานวันสำคัญ กิจกรรมสร้างสรรค์
18.3 เสนอและจัดกิจกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา กิจกรรมเสริมหลักสูตรและ
กิจกรรมนอกเวลาเรียน
18.4 งานที่โรงเรียนมอบหมาย
หมวด 6
การประชุมสภาผู้แทนนักเรียน
ข้อ 19 ภาคเรียนหนึ่ง ๆ ให้มีการประชุมสามัญสภาผู้แทนนักเรียนครั้งหนึ่ง เว้นแต่มีกรณีรีบด่วนในการประชุมแต่ละครั้ง ต้องประกอบด้วยองค์ประชุม ดังนี้
19.1 การประชุมให้ประกอบด้วย สภาผู้แทนนักเรียน และครูที่ปรึกษา
19.2 ให้ประธานสภาผู้แทนนักเรียนเป็นประธานในที่ประชุมให้เลขาธิการคณะกรรมการบริหารเป็นผู้ออกหนังสือเชิญประชุม และจดบันทึกการประชุม
19.3 ในการประชุมต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสภาผู้แทนนักเรียนจึงจะครบองค์ประชุม
19.4 ในการประชุมให้แถลงผลงานและการเงิน และที่ประชุมมีสิทธิ์ในการซักถาม
19.5 ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม หรือสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนคนหนึ่งเป็นประธาน
19.6 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้เสียงข้างมาก
19.7 ผู้เข้าประชุมคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
องค์กรอื่นๆให้ใช้แนวทางนี้โดยอนุโลม การแก้ไขข้อบังคับนี้ให้ผู้ช่วยทุกฝ่ายเสนอผ่านรองผู้อำนวยการเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
( นายสนอง ก้อนสมบัติ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนนาน้อย
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 02 พฤศจิกายน 2011 เวลา 13:58 น.)